Ads 468x60px

Labels

วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ตราดรำลึก ร.ศ.๑๑๒

ประวัติวันตราดรำลึก
    ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ฝรั่งเศสได้ขยายอำนาจมาทางตะวันออกของแหลมอินโดจีน จนได้ครอบครองญวนทั้งประเทศ และเขมรส่วนนอกทั้งหมด และได้ใช้กำลังบีบบังคับไทยเพื่อจะเข้ายึดครองดินแดนของประเทศไทย เกิดเหตุการณ์รบที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา (เหตุ ร.ศ. 112) ไทยจำยอมต้องยกดินแดนเมืองจันทบุรีและฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงให้ฝรั่งเศส ต่อมาในปี ร.ศ. 122 (ตรงกับวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446 ) รัฐบาลไทยได้ทำสัญญากับรัฐบาลฝรั่งเศส โดยรัฐบาลไทยยอมยกเมืองตราดและเกาะทั้งหลายภายใต้แหลมลิงลงไปถึงเกาะกูด ตลอดจนถึงเมืองประจันตคีรีเขตต์ ( เกาะกง) ให้แก่เมืองฝรั่งเศส และฝ่ายฝรั่งเศสยอมถอนทหารออกจากจังหวัดจันทบุรีโดยกองทหารฝรั่งเศสออกจากจันทบุรีตามสัญญาในวันที่ ๑๒ มกราคม ร.ศ. ๑๒๓   (พ.ศ. ๒๔๔๗) ต่อจากนั้นรัฐบาลไทยได้มีการมอบจังหวัดตราดและเกาะกงให้แก่ฝรั่งเศสเข้าปกครองตั้งแต่วันที่  ๒๒ มกราคม ร.ศ. ๑๒๓ (  พ.ศ. ๒๔๔๗) เป็นต้นมา  จนถึง วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2449 ฝรั่งเศสจึงทำสัญญาคืนเมืองตราดให้ไทยดังเดิม ทั้งนี้ โดยพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงดำเนินวิเทโศบายทางการฑูตทุกวิถีทางจนได้เมืองตราดกลับคืนมา  และวันที่  ๖ กรกฎาคม  ร.ศ. ๑๒๖ ( พ.ศ. ๒๔๕๐)  ฝรั่งเศสจึงทำพิธีมอบเมืองตราดอย่างเป็นทางการ ให้กับประเทศไทยตามเดิม  นับว่าจังหวัดตราดต้องสูญเสียอิสรภาพตกอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสเป็นเวลา ๒ ปี ๖ เดือน ๗ วัน การที่จัดจังหวัดตราดได้กลับคืนมาอยู่ภายใต้การปกครองของประเทศไทยตามเดิมนั้น เราไม่ได้กลับคืนมาเปล่าไทยต้องเสียดินแดนพระตะบองเสียมราฐ  และศรีโสภณให้แก่ฝรั่งเศสเพื่อแลกกับจังหวัดตราด   การที่เราต้องเสียดินแดนไปจำนวนมากเพื่อแลกเปลี่ยนกับคนไทย นั้น ถือว่าเป็นพระปรีชาสามารถและทรงมีความผูกพันธุ์กับชาวตราด โดยแท้จริง  ซึ่งก่อนที่จะเสียเมืองตราดนั้น สมเด็จพระปิยมหาราช ได้เคยเสด็จประพาสและทรงเยี่ยมราษฎรมาแล้วถึง 8 ครั้ง คือครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2416 ต่อมาปี พ.ศ.2419,2425 , 2426 , 2427 , 2430 ,2432,2444 โดยลำดับ ถ้านับรวมครั้งหลังสุด คือหลังจากที่ได้เมืองตราดคืนมา ปี 2450 ก็นับรวมได้ 9 ครั้ง  หลักฐานที่ยืนยันข้อความนี้ ปรากฎในพระราชนิพนธ์จดหมายเหตุเสด็จประพาสเมืองจันทบุรี ปี พ.ศ. 2519 และพระราชหัตถเลขาเสด็จประพาสหัวเมืองชายทะเลตะวันออก ปี 2425 ,2426 และปี 2427  ส่วนที่ไม่ได้ปรากฎในราชหัตถเลขา ก็มีหลักฐานจารึกพระปรมาภิไธยย่อ จ.ป.ร. ที่แผ่นหินน้ำตกธารมะยม และน้ำตกธารนนทรีย์ บนเกาะช้าง คือ ปี 2430 ,2432 และ2444
    ชาวตราดจึงถือเอาวันที่ 23 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันสำคัญในการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน และในปี พ.ศ. 2549 นี้ เป็นวาระครบรอบ 100 ปี ที่สยามประเทศไดดินแดนเมืองตราดกลับคืนมาดังเดิม   สมเด็จพระปิยะมหาราชทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อชาวตราดเป็นล้นพ้น เมื่อทรงทราบว่าเมืองตราดได้กลับคืนมา ขณะนั้นพระองค์อยู่ระหว่างเสด็จประพาสยุโรป เมื่อเสด็จนิวัติสู่ประเทศไทย ได้เสด็จมารับขวัญชาวตราดก่อนเสด็จพระนคร ยังความปลื้มปิติแก่ชาวเมืองตราดและความสงบสุขของบ้านเมืองตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ขออบคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจ....ปุนจา ศรีกงพาน ครู กศน.ตำบล

 
 
Blogger Templates