Ads 468x60px

Labels

วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ร.ศ. ๑๑๒

วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112

            เป็นเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างราชอาณาจักรสยามกับฝรั่งเศสในสมัยสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 ซึ่งเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2436 จากการอ้างอำนาจอธิปไตยเหนือพื้นที่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง (พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศลาวในปัจจุบัน) ผู้มีบทบาทสำคัญในวิกฤตการณ์ครั้งนี้คือนายโอกุสต์ ปาวี รองกงสุลฝรั่งเศสประจำนครหลวงพระบาง ซึ่งเป็นหัวหอกสำคัญในการแสวงหาผลประโยชน์ของฝ่ายฝรั่งเศสในดินแดนลาว โดยใช้ประโยชน์จากจุดอ่อนของสยามที่ไม่สามารถดูแลหัวเมืองชายแดนได้ทั่วถึง การก่อกบฏในเวียดนามที่เกิดขึ้นเป็นระยะๆ การปราบฮ่อซึ่งแตกพ่ายจากเหตุการณ์กบฏไท่ผิงในจีน และการทวีความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลสยามกับรัฐบาลฝรั่งเศสที่กรุงปารีส
             ผลของวิกฤตการณ์ครั้งนี้ทำให้ฝ่ายไทยจำต้องยอมยกดินแดนลาวฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศส นับเป็นการขยายอิทธิพลครั้งสำคัญครั้งหนึ่งของฝรั่งเศสในภูมิภาคอินโดจีน และนำไปสู่การสูญเสียดินแดนประเทศราชของไทยในเขมรและลาวที่เหลืออยู่ในเวลาต่อมาอีกด้วย

วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436)

            เมื่อฝรั่งเศสได้ครอบครองดินแดนสิบสองจูไทยแล้ว โดยที่ยังไม่มีการเจรจาปักปันเขตแดนกับไทยการเจรจานี้ได้ยุติลง เมื่อฝรั่งเศสมีนโยบายจะขยายอาณาเขตของตนออกไปจนถึงฝั่งแม่น้ำโขง โดยจะยึดดินแดนทั้งหมดบนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ตั้งแต่ภาคเหนือของลาวจนถึงชายแดนเขมร เมื่อฝรั่งเศสยึดดินแดนสิบสองจูไทยได้นั้น ก็เริ่มสำรวจดินแดนลาวอีกครั้ง และสร้างอิทธิพลในหมู่ชาวลาวด้วยการผูกมิตรและหาเหตุมาขัดแย้งกับไทยอยู่เสมอ ฝ่ายไทยเห็นว่าฝรั่งเศสต้องการยึดดินแดนเพิ่มจึงเตรียมรับมือ เช่นปรับปรุงการปกครองหัวเมืองฝ่ายตะวันออกให้เข้มแข็งรัดกุมขึ้น โดยเฉพาะเมืองจำปาศักดิ์ หนองคาย และหลวงพระบาง การเกณฑ์ทหารและเตรียมการป้องกันชายแดน ฝรั่งเศสจึงฉวยโอกาสว่าไทยเตรียมจะทำสงคราม และแต่งตั้งนายโอกุสต์ ปาวี เป็นราชทูตประจำกรุงเทพฯ ซึ่งสร้างความวิตกให้กับฝ่ายไทย เพราะนายปาวีรู้จักดินแดนเขมรและลาวในทุกๆด้าน และเป็นนักจักรวรรดินิยม เมื่อนายโอกุสต์ ปาวีเข้ามารับตำแหน่งก็เริ่มการเจรจาปัญหาเก่าๆกับกรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ รวมทั้งเรื่องการปักปันเขตแดนสิบสองจูไทย โดยจะนำแผนที่มาแสดงเขตแดนของตน แต่ต่อมานายโอกุสต์ ปาวี ก็หาเหตุไม่ยอมเจรจาด้วยอ้างว่าทหารไทยบุกรุกดินแดนส่วนนั้นของฝรั่งเศสทำให้การเจรจาล้มเลิกไป ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2436นายโอกุสต์ ปาวี ได้ประกาศว่าฝรั่งเศสถือว่าดินแดนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำโขงทั้งหมดเคยเป็นเมืองที่ส่งบรรณาการให้แก่ญวนมาก่อนจึงไม่เป็นส่วนหนึ่งของไทย พอถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2436 ฝรั่งเศสได้อ้างสิทธิครอบครองดินแดนลาวพร้อมกับส่งกองทัพเข้าไป กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการจึงเสนอให้ตั้งอนุญาโตตุลาการตัดสินปัญหาต่างๆ ที่ไทยกับฝรั่งเศสเจรจาตกลงกันไม่ได้ ฝรั่งเศสไม่รับข้อเสนอนั้น และใช้นโยบายเรือปืนเพื่อบีบบังคับไทยโดยส่งเรือรบ เลอ ลูแตง (Le Lutin) เข้ามาจอดหน้าสถานทูตฝรั่งเศสซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อรอคำตอบจากรัฐบาลไทย ท่าทีคุกคามของฝรั่งเศสทำให้ไทยเร่งจัดการป้องกันกรุงเทพฯ และปากน้ำให้รัดกุมยิ่งขึ้น และทำการป้องกันรักษาพระราชอาณาเขตหัวเมืองชายทะเลด้านตะวันออก โดยส่งทหารไปประจำที่เกาะกง แหลมงอบ และสร้างป้อมพระจุลจอมเกล้าที่แหลมฟ้าผ่า และขอความช่วยเหลือจากอังกฤษแต่ไม่ได้รับความช่วยเหลือ เพราะอังกฤษไม่ต้องการเข้าไปแทรกแซงระหว่างฝรั่งเศสกับไทย

           วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2436 รัฐบาลฝรั่งเศสได้แจ้งแก่ฝ่ายไทยว่า ผู้การโบรี (Bory) จะนำเรือปืนแองกงสตอง (Inconstant) และเรือโกแมต (Comete) เข้ามายังกรุงเทพฯ กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ ทรงคัดค้านว่าละเมิดสนธิสัญญาฉบับ พ.ศ. 2399 ในวันที่ 11 กรกฎาคม เรือทั้งสองลำจึงมุ่งหน้ามากรุงเทพฯ ซึ่งเป็นการละเมิดอธิปไตยของไทย จึงได้เกิดการต่อสู้บริเวณป้อมพระจุลจอมเกล้าและป้อมผีเสื้อสมุทร ต่างฝ่ายได้รับความเสียหาย โดยฝรั่งเศสสามารถฝ่ากระสุนเข้ามาจอดที่หน้าสถานทูตฝรั่งเศสได้และยื่นคำขาดต่อไทยดังนี้
            1.ไทยต้องเพิกถอนสิทธิเหนือดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงและเกาะต่างๆตั้งแต่ภาคเหนือของลาวไปจนถึงพรมแดนเขมร
            2. ให้ไทยรื้อถอนด่านทั้งหมดบนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงให้เสร็จภายใน 1 เดือน
            3. ให้ไทยจัดการปัญหาทุ่งเชียงคำ เมืองคำพวน และความเสียหายที่เรือรบฝรั่งเศสและชาวฝรั่งเศสได้รับจากการปะทะกัน
            4. ให้ไทยลงโทษเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยที่รับผิดชอบในการยิงปืนที่ปากน้ำ
            5. ให้ไทยชดใช้ค่าเสียหายให้ชาวฝรั่งเศสเป็นเงิน 2 ล้านฟรังก์

            ฝ่ายไทยจึงยอมรับทุกข้อยกเว้นข้อ 1 ทำให้ฝรั่งเศสไม่พอใจจึงถอนคณะทูตออกจากประเทศไทย และเรือรบได้ไปยังเกาะสีชังและปฏิบัติการปิดอ่าวไทย จึงเป็นเหตุให้ไทยรับเงื่อนไขคำขาดโดยไม่ต่อรองใดๆ เพื่อให้ฝรั่งเศสยุติการปิดอ่าว แต่รัฐบาลฝรั่งเศสกลับยื่นเงื่อนไขเพิ่มเติมที่รุนแรงขึ้น คือ เรียกร้องจะเข้ายึดครองแม่น้ำและท่าเรือจังหวัดจันทบุรี และไทยต้องไม่มีกำลังทหารอยู่ที่พระตะบอง เสียมราฐ และบริเวณรัศมี 25 กิโลเมตรบนฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ฝ่ายไทยจึงยอมรับเงื่อนไขที่เพิ่มเติมมาแต่โดยดี หลังจากนั้นฝรั่งเศสได้ส่งผู้แทนรัฐบาลมาเจรจาขอทำสนธิสัญญาเพื่อยุติกรณีพิพาท ร.ศ. 112 ในร่างสัญญาดังกล่าวไทยมีข้อเสียเปรียบหลายประการโดยเฉพาะเมืองจันทบุรี มีสาระสำคัญดังนี้
            1. รัฐบาลไทยสละสิทธิทั้งหมดในดินแดนบนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงและเกาะต่างๆในแม่น้ำนั้น
            2. ห้ามรัฐบาลไทยส่งเรือรบเข้าไปในทะเลสาบ ในแม่น้ำโขง และลำน้ำที่แยกมา
            3. ห้ามรัฐบาลไทยสร้างด่านหรือค่ายทหารในเมืองพระตะบอง และเสียมราฐ
            4. ฝรั่งเศสสงวนสิทธิจะตั้งกงสุล ณ ที่ใดก็ได้ โดยเฉพาะที่น่านและโคราช

            โดยฝรั่งเศสจะยึดเมืองจันทบุรีไว้เป็นประกันจนกว่าไทยจะปฏิบัติตามสัญญาจนครบ จากเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้ไทยต้องเสียดินแดนครั้งที่สำคัญของไทยคือ ราชอาณาจักรลาวเกือบทั้งหมด รวมทั้งสิบสองจูไทยต้องตกอยู่ใต้ปกครองของฝรั่งเศส รวมเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 143,800 ตารางกิโลเมตร พลเมืองประมาณ 600,000 คน

ตราดรำลึก ร.ศ.๑๑๒

ประวัติวันตราดรำลึก
    ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ฝรั่งเศสได้ขยายอำนาจมาทางตะวันออกของแหลมอินโดจีน จนได้ครอบครองญวนทั้งประเทศ และเขมรส่วนนอกทั้งหมด และได้ใช้กำลังบีบบังคับไทยเพื่อจะเข้ายึดครองดินแดนของประเทศไทย เกิดเหตุการณ์รบที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา (เหตุ ร.ศ. 112) ไทยจำยอมต้องยกดินแดนเมืองจันทบุรีและฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงให้ฝรั่งเศส ต่อมาในปี ร.ศ. 122 (ตรงกับวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446 ) รัฐบาลไทยได้ทำสัญญากับรัฐบาลฝรั่งเศส โดยรัฐบาลไทยยอมยกเมืองตราดและเกาะทั้งหลายภายใต้แหลมลิงลงไปถึงเกาะกูด ตลอดจนถึงเมืองประจันตคีรีเขตต์ ( เกาะกง) ให้แก่เมืองฝรั่งเศส และฝ่ายฝรั่งเศสยอมถอนทหารออกจากจังหวัดจันทบุรีโดยกองทหารฝรั่งเศสออกจากจันทบุรีตามสัญญาในวันที่ ๑๒ มกราคม ร.ศ. ๑๒๓   (พ.ศ. ๒๔๔๗) ต่อจากนั้นรัฐบาลไทยได้มีการมอบจังหวัดตราดและเกาะกงให้แก่ฝรั่งเศสเข้าปกครองตั้งแต่วันที่  ๒๒ มกราคม ร.ศ. ๑๒๓ (  พ.ศ. ๒๔๔๗) เป็นต้นมา  จนถึง วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2449 ฝรั่งเศสจึงทำสัญญาคืนเมืองตราดให้ไทยดังเดิม ทั้งนี้ โดยพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงดำเนินวิเทโศบายทางการฑูตทุกวิถีทางจนได้เมืองตราดกลับคืนมา  และวันที่  ๖ กรกฎาคม  ร.ศ. ๑๒๖ ( พ.ศ. ๒๔๕๐)  ฝรั่งเศสจึงทำพิธีมอบเมืองตราดอย่างเป็นทางการ ให้กับประเทศไทยตามเดิม  นับว่าจังหวัดตราดต้องสูญเสียอิสรภาพตกอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสเป็นเวลา ๒ ปี ๖ เดือน ๗ วัน การที่จัดจังหวัดตราดได้กลับคืนมาอยู่ภายใต้การปกครองของประเทศไทยตามเดิมนั้น เราไม่ได้กลับคืนมาเปล่าไทยต้องเสียดินแดนพระตะบองเสียมราฐ  และศรีโสภณให้แก่ฝรั่งเศสเพื่อแลกกับจังหวัดตราด   การที่เราต้องเสียดินแดนไปจำนวนมากเพื่อแลกเปลี่ยนกับคนไทย นั้น ถือว่าเป็นพระปรีชาสามารถและทรงมีความผูกพันธุ์กับชาวตราด โดยแท้จริง  ซึ่งก่อนที่จะเสียเมืองตราดนั้น สมเด็จพระปิยมหาราช ได้เคยเสด็จประพาสและทรงเยี่ยมราษฎรมาแล้วถึง 8 ครั้ง คือครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2416 ต่อมาปี พ.ศ.2419,2425 , 2426 , 2427 , 2430 ,2432,2444 โดยลำดับ ถ้านับรวมครั้งหลังสุด คือหลังจากที่ได้เมืองตราดคืนมา ปี 2450 ก็นับรวมได้ 9 ครั้ง  หลักฐานที่ยืนยันข้อความนี้ ปรากฎในพระราชนิพนธ์จดหมายเหตุเสด็จประพาสเมืองจันทบุรี ปี พ.ศ. 2519 และพระราชหัตถเลขาเสด็จประพาสหัวเมืองชายทะเลตะวันออก ปี 2425 ,2426 และปี 2427  ส่วนที่ไม่ได้ปรากฎในราชหัตถเลขา ก็มีหลักฐานจารึกพระปรมาภิไธยย่อ จ.ป.ร. ที่แผ่นหินน้ำตกธารมะยม และน้ำตกธารนนทรีย์ บนเกาะช้าง คือ ปี 2430 ,2432 และ2444
    ชาวตราดจึงถือเอาวันที่ 23 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันสำคัญในการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน และในปี พ.ศ. 2549 นี้ เป็นวาระครบรอบ 100 ปี ที่สยามประเทศไดดินแดนเมืองตราดกลับคืนมาดังเดิม   สมเด็จพระปิยะมหาราชทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อชาวตราดเป็นล้นพ้น เมื่อทรงทราบว่าเมืองตราดได้กลับคืนมา ขณะนั้นพระองค์อยู่ระหว่างเสด็จประพาสยุโรป เมื่อเสด็จนิวัติสู่ประเทศไทย ได้เสด็จมารับขวัญชาวตราดก่อนเสด็จพระนคร ยังความปลื้มปิติแก่ชาวเมืองตราดและความสงบสุขของบ้านเมืองตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา


คำขวัญและประวัติความเป็นมาจังหวัดตราด

คำขวัญ จังหวัดตราด
เมืองเกาะครึ่งร้อย พลอยแดงค่าล้ำ ระกำแสนหวาน หลังอานหมาดี ยุทธนาวีเกาะช้าง สุดทางบูรพา
ที่มาแห่งความหมาย
เมืองเกาะครึ่งร้อย : จังหวัดตราด ประกอบไปด้วยหมู่เกาะช้าง มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 650 ตารางกิโลเมตร ประกอบไปด้วยเกาะต่าง ๆ ที่มากถึง 52 เกาะ เรียงรายตั้งแต่เขตอำเภอแหลมงอบ อำเภอเมือง และอำเภอคลองใหญ่ เกาะที่สำคัญที่สุด คือ เกาะช้าง นอกจากนี้ยังมีเกาะอื่น ๆ ที่ยังคงสภาพความสวยงามตามธรรมชาติได้แก่ เกาะกูด เกาะหมาก เกาะคลุ้ม เกาะเหลายาใน เกาะง่าม เกาะไม้ซี้ใหญ่ เกาะหวาย เกาะรัง ฯลฯ
พลอยแดงค่าล้ำ : พลอยแดง จังหวัดตราด เป็นแหล่งของพลอยแดงน้ำงามที่มีชื่อเสียงโด่งดังในนาม "ทับทิมสยาม" แต่ปัจจุบันแร่พลอยเริ่มหมดไป ทับทิมสยามจึงกลายเป็นสิ่งที่หายาก ปัจจุบันยังพอหาซื้อได้จาก ร้านจำหน่ายเพชรพลอยในตัวเมืองตราด
ระกำแสนหวาน : สุนัขพันธุ์ไทยหลังอาน มีลักษณะพิเศษ คือ มีอาน หรือขวัญบนแผ่นหลัง มีความฉลาด และซื่อสัตย์ คอกสุนัขหลังอานบริเวณ บริษัท โคคาโคล่า
หลังอานหมาดี ยุทธนาวีเกาะช้าง สุดทางบูรพา : อนุสรณ์สถานยุทธนาวีเกาะช้าง จัดสร้างขึ้นบริเวณชายทะเลแหลมงอบ มีอนุสาวรีย์กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ผันพระพักตร์ไปยังยุทธนาวีเกาะช้างมีการจัดบริเวณและอาคารพิพิธภัณฑ์คล้ายเรือรบ ด้านในพิพิธภัณฑ์ได้จัดแสดงประวัติศาสตร์ของกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ประวัติการสู้รบของกองทัพเรือไทยกับกองกำลังเรือรบของฝรั่งเศส รอบ ๆ บริเวณอนุสรณ์สถานได้จัดเป็น สวนสำหรับพักผ่อน และจะมีงานฉลอง เพื่อระลึกถึงการทำยุทธนาวีของกองทัพเรือไทย ระหว่างวันที่ 17-21 มกราคมของทุกปี

ประวัติความเป็นมา
            เมืองตราดสันนิษฐานว่าเพี้ยนมาจากคำว่า “กราด” ที่เป็นชื่อของต้นไม้ชนิดหนึ่งที่ใช้ทำไม้กวาด ต้นไม้ชนิดนี้มีขึ้นอยู่รอบเมืองตราด ซึ่งในสมัยนั้นมีต้นกราดอยู่เป็นจำนวนมาก แต่พอถึงในสมัยกรุงศรีอยุธยา รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมืองตราดมีชื่อในขณะนั้นว่า “บ้านบางพระ” จังหวัดตราด หรือเมืองทุ่งใหญ่ปรากฏชื่อในทำเนียบหัวเมืองสมัยพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ. 2178) ว่าเป็นหัวเมืองชายทะเล สังกัดฝ่ายการต่างประเทศ ซึ่งเกี่ยวข้องกับด้านการคลัง ตราดเป็นหนึ่งในเมืองท่าชายทะเล ที่มีชัยภูมิเหมาะกับการแวะจอดเรือ เพื่อขนถ่ายซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า เติมเสบียงอาหาร น้ำจืดบริเวณอ่าวเมืองตราด จึงเป็นแหล่งที่ตั้งชุมชนพ่อค้าชาวจีนที่เดินทางเข้ามาค้าขาย 
            ตราดนับเป็นเมืองศูนย์กลางการค้าแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้ในช่วงปลายอยุธยา สินค้าที่ส่งออกขายยังแดนไกล โดยเฉพาะของป่า เช่น เขากวาง หนังสัตว์ ไม้หอม และเครื่องเทศต่าง ๆ ล้วนมาจากเขตป่าเขาชายฝั่งทะเลตะวันออก แถบระยอง จันทบุรี ตราด โดยลำเลียงสินค้าผ่านมาตามแม่น้ำเขาสมิง ออกสู่ปากอ่าวตราด
เมื่อครั้งสงครามกู้เอกราชสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงเลือกตรา ดเป็นเมืองหน้าด่านกันชน ทำหน้าที่ส่งเสบียงอาหารก่อนเคลื่อนกองทัพเรือออกจากจันทบุรี
            ในสมัยรัชการที่ 1 เมืองตราดยังเป็นเมืองท่าสำคัญแห่งหนึ่งเช่นเดียวกับในสมัยอยุธยา ในสมัยรัชกาลที่ 3 ไทยทำศึกกับเจ้าอนุวงศ์ เมืองเวียงจันท์ซึ่งต่อมาหันไปสวามิภักดิ์กับญวน ไทยกับญวนผิดใจกันจนต้องทำสงครามกันในปี พ.ศ. 2371 ตราดเป็นแหล่งกำลังพล และเสบียงอาหารมีการตั้งป้อมค่ายอยู่ที่บ้านแหลมหิน ปากอ่าวเมืองตราด
            สมัยรัชกาลที่ 5 ฝรั่งเศสได้ส่งกองทัพเรือเข้ายึดจันทบุรี ปี ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) และคืนให้ไทยในปี พ.ศ. 2447 โดยแลกกับเมืองตราดตั้งแต่แหลมสิงห์ไปจนถึงเกาะกูด รวมทั้งเมืองปัจจันตคีรีเขตร (เกาะกง) ต่อมารัฐบาลไทยเห็นว่าตราดมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ และพลเมืองส่วนใหญ่เป็นคนไทย ด้วยพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฝรั่งเศสจึงยินยอมทำสัญญายกเมืองตราดกับเมืองด่านซ้ายฝั่งขวาของแม่น้ำโขง (เมื่อหันหน้าไปทางปากแม่น้ำ) คืนให้กับไทยโดยแลกเปลี่ยนกับพระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2449 โดยฝ่ายไทยมีพระยามหาอำมาตยาธิบดี ซึ่งในขณะนั้นเป็นพระยาศรีเทพตำแหน่งปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทยเป็นหัวหน้า ผู้แทนรัฐบาลไทย ฝ่ายฝรั่งเศสมีเมอซิเออร์รูซโซเรซิดังเป็นหัวหน้าผู้แทนรัฐบาลฝรั่งเศสได้ กระทำพิธีส่ง และรับมอบกัน ณ ศาลากลางจังหวัด และฝรั่งเศสยอมถอนทหารออกไปเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2450
            ในช่วงสงครามอินโดจีน (พ.ศ. 2483-2484) ฝรั่งเศสพยายามเข้ายึดเมืองตราดอีกเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2484 กองทัพเรือไทยได้เข้าต่อสู้ขัดขวางกองทัพเรือฝรั่งเศสที่ล่วงล้ำน่านน้ำไทย อย่างกล้าหาญ รักษาเมืองยุทธศาสตร์ที่อุดมสมบูรณ์แห่งนี้ได้
            ปี พ.ศ. 2521 เกิดสงครามสู้รบในกัมพูชา ชาวเขมรนับแสนหนีตายทะลักเข้ามาในเขตไทยทางเทือกเขาบรรทัด เขตพรมแดนด้านตะวันออก เส้นทางหลวงหมายเลข 318 จากตัวเมืองตราดเลียบขนานเทือกเขาบรรทัด และชายฝั่งทะเลสู่อำเภอคลองใหญ่เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์สายสำคัญ เมื่อสงครามสงบลงในปี พ.ศ. 2529 เส้นทางสายนี้ได้แปรเปลี่ยนเป็นเส้นทางการค้าระหว่างชายแดนไทย-กัมพูชา บริเวณตลาดหาดเล็ก สุดเขตชายแดนไทย และเป็นจุดเริ่มต้นการเดินทางต่อไปยังเกาะกง
            
             การขุดพบ “พลอยแดง” หรือ “ทับทิมสยาม” ในเขตอำเภอบ่อไร่เมื่อปี พ.ศ. 2514 ก่อกระแสการตื่นพลอย ผู้คนจากทั่วสารทิศหลั่งไหลเข้ามาแสวงโชคที่นี่ความเจริญทุกด้านมุ่งสู่บ่อ ไร่จนกลายเป็นเมืองใหญ่คู่กับตัวเมืองตราด พื้นที่ที่เคยเป็นป่าทึบกลายเป็นหลุมบ่อ เมื่อทรัพย์สินในดินเริ่มหมดไป ในปี พ.ศ. 2534 บ่อไร่กลายเป็นเมืองร้าง เหลือไว้เพียงอาคารร้านค้าซึ่งเป็นอนุสรณ์แห่งความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ 





            จังหวัดตราด อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 315 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 2,819 ตารางกิโลเมตร เป็นจังหวัดชายแดนทางภาคตะวันออกของประเทศไทย แบ่งการปกครองออกเป็น 7 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอเขาสมิง อำเภอแหลมงอบ อำเภอคลองใหญ่ อำเภอบ่อไร่ อำเภอเกาะกูด และอำเภอเกาะช้าง 
             สภาพภูมิอากาศ จังหวัดตราดมีอากาศไม่ ร้อนจัด หรือหนาวจนเกินไป แต่มีฝนตกชุกมาก เพราะมีพื้นที่ติดทะเลและภูเขาโอบล้อม จึงทำให้รับอิทธิพลของลมมรสุม แบ่งออกเป็น 3 ฤดู
            ฤดูหนาว เป็นเพียงระยะเวลาสั้นๆ ช่วงเดือนพ.ย.-ก.พ. อากาศไม่หนาวมากนัก อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 20 องศาเซลเซียส
            ฤดูร้อน เป็นช่วงระหว่างเดือน มี.ค.-เม.ย. อุณหภูมิโดยเฉลี่ยไม่เกิน 34 องศาเซลเซียส 

            ฤดูฝน เกิดจากอิทธิพลลมมรสุมตัวันตกเฉียงใต้พัดผ่านทะเลอ่าวไทย ในช่วงเดือน พ.ค.-ต.ค ของทุกปี ทำให้มีฝนตกชุกในเกือบทุกพื้นที่ โดยเฉลี่ยจะมีปริมาณน้ำฝน 4,000 มม.ต่อปี

วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

วิดิทัศน์

ศูนย์ภาษาอาเซียน 
            กศน. อําเภอเมืองตราด เป็นแหล่งศึกษา ค้นคว้า รวบรวม เผยแพร่ข้อมูล และจัดกระบวนการเรียนรู้เรื่องอาเซียนศึกษา ภาษาต่างประเทศ ตลอดจนให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร และเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านวัฒนธรรม ประเพณี สังคม เศรษฐกิจ การเมือง การท่องเที่ยว ฯลฯ ในกลุ่มอาเซียน

โดยมีวัตถุประสงค์
            ๑. เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ และภาษาเรื่องอาเซียนศึกษา และ
ภาษาต่างประเทศ
            ๒. เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ แลกเปลี่ยน เผยแพร่ข้อมูล และการสื่อสารโดยการใช้เทคโนโลยี
สารสนเทศ
            ๓. เพื่อเป็นแหล่งศึกษา ค้นคว้า รวบรวม ข้อมูลความรู้ด้านอาเซียนศึกษา และ
ภาษาต่างประเทศ
            ๔. เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านวัฒนธรรม ประเพณี สังคม เศรษฐกิจ การเมือง การ
ท่องเที่ยว ฯลฯ ในกลุ่มอาเซียน


ข้อมูลชุมชน

ข้อมูลท้องถิ่น
ประวัติความเป็นมาของท้องถิ่น

                ประวัติดั้งเดิมตำบลนี้มีหนองน้ำขนาดใหญ่อยู่แห่งหนึ่ง มีต้นโสนขึ้นเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงเรียกว่า “ หนองโสน ”  และเมื่อมีการแบ่งเขตการปกครองออกเป็นตำบล ชาวบ้านจึงเรียกหนองน้ำแห่งนี้เป็นชื่อตำบลว่า  “ ตำบลหนองโสน ”  ตั้งแต่นั้นมาจวบจนถึงปัจจุบัน
แหล่งที่มา ข้อมูลจากองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน อ.เมือง จ.ตราด
               
ด้านกายภาพสภาพทั่วไป 
                 อนาเขต
                                ทิศเหนือ              จรด         ตำบลวังกระแจะ     อ.เมืองตราด      จ.ตราด
                                ทิศใต้                   จรด         ตำบลห้วงน้ำขาว     อ.เมืองตราด      จ.ตราด
                                                                             และตำบลน้ำเชี่ยว   อ.แหลมงอบ     จ.ตราด
                                ทิศตะวันออก       จรด         ตำบลหนองเสม็ด    อ.เมืองตราด      จ.ตราด
                                ทิศตะวันตก         จรด         ตำบลน้ำเชี่ยว          อ.แหลมงอบ    จ.ตราด


ข้อมูล กศน.ตำบล

ข้อมูล กศน.ตำบล
ข้อมูลทั่วไป
ประวัติการจัดตั้ง กศน.ตำบล
                กศน.ตำบลหนองโสน  ประกาศจัดตั้งเมื่อวันที่  ๒๔  กันยายน  พ.ศ. ๒๕๕๔  โดยใช้อาคารองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน  เป็นสำนักงาน  ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  พ.ศ.๒๕๕๑  สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดตราด  สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ  กระทรวงศึกษาธิการ  ต่อมาเดือนมิถุนายน  ๒๕๕๔  ได้รับการจัดสรรงบประมาณ  ๘๐๐,๐๐๐.-  บาท  ก่อสร้างอาคาร กศน.ตำบลหนองโสน  โดยก่อสร้าง ณ  พื้นที่  หมู่ ๒  วัดไทรทอง  ตำบลหนองโสน  อำเภอเมือง  จังหวัดตราด  โดยมี  นางจันทร์จิรา  ศรีกุล  ดำรงตำแหน่งครูอาสาสมัครฯ และมี นายปุนจา  ศรีกงพาน ครู  กศน.ตำบลปฏิบัติหน้าที่หัวหน้า กศน.ตำบลหนองโสน               


สถานที่ตั้ง กศน. ตำบล
กศน.ตำบลหนองโสน  ๑๙๑  หมู่ ๒  ตำบลหนองโสน  อำเภอเมือง  จังหวัดตราด



บุคลากรปฏิบัติงานหลัก กศน. ตำบล

                 ๑.นายปุนจา  ศรีกงพาน ครู กศน. ตำบลวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี
                 ๒.นางจันทร์จิรา  ศรีกุลครูอาสาสมัคร   วุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี


บุคลากรปฏิบัติงานส่งเสริมและสนับสนุน  กศน. ตำบล                               

                  .นายศักดา  อรรถศิริ                ทำหน้าที่     ประธานกรรมการ กศน. ตำบล
                  ๒.นายมงคลชัย   สร้างนอก       ทำหน้าที่ อาสาสมัคร กศน. ของ กศน. ตำบล
                  ๓.นางสาวศิริวรรณ  คูหาวรณ์   ทำหน้าที่อาสาสมัครส่งเสริมการอ่าน ของ  กศน. ตำบล
                  . นายศิลา  สมบัติบูรณ์            ทำหน้าที่อาสาสมัครส่งเสริมการอ่าน ของ  กศน. ตำบล
                  ๕. นายเสก  สังข์ผาด                 ทำหน้าที่อาสาสมัครส่งเสริมการอ่าน ของ  กศน. ตำบล
                   ๖. นายภาสกร  พรประสิทธิ์      ทำหน้าที่อาสาสมัครส่งเสริมการอ่าน ของ  กศน. ตำบล
 
 
Blogger Templates